CoLoaRain Fish

เพื่อนที่ดีสำหรับคนรักสัตว์น้ำ

CoLoaRain Fish-+-CoLoaRain Fish-+-CoLoaRain Fish-+-CoLoaRain Fish-+-CoLoaRain Fish-+-CoLoaRain Fish

CoLoaRain Fish

ข้อมูลอันหลากหลาย แบ่งปันความรู้ ของชนิดปลาเรนโบว์ ปลาพื้นตู้(ปลาหมู ปลาแพะ) และกุ้งเครฟิช ครับ
Rainbowfish--+--Loach--+--Corydoras--+--Crayfish



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corydoras leucomelas
ชื่อทั่วไป : -


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corydoras tukano
ชื่อทั่วไป : -





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corydoras paleatus
ชื่อทั่วไป : ปลาแพะลาย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corydoras melini
ชื่อทั่วไป : -





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corydoras trilineatus
ชื่อทั่วไป : ปลาแพะจูลี่




ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corydoras aeneus
ชื่อทั่วไป : ปลาแพะเขียว





ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corydoras panda
ชื่อทั่วไป : ปลาแพะแพนด้า


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Corydoras aeneus albino
ชื่อทั่วไป : ปลาแพะเผือก

B. การเลี้ยงปลา (Freshwater Fish)

1. การเตรียมน้ำ น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลี้ยงปลาไม่ว่าชนิดอะไรก็ตาม น้ำที่ใช้ในการเลี้ยงปลาที่ดี ควรเป็นน้ำที่สะอาด ปราศจากครอรีนและสารต่างๆ น้ำที่นำมาใช้มี 2 แบบคือ (ก) น้ำจากท่อประปาโดยตรง ถ้าใช้ควรทำการพักน้ำไว้อย่างน้อย 3 วันก่อนใช้ เพื่อให้ครอรีนหมดไปและอาจจะใช้ร่วมกับน้ำยาปรับสภาพน้ำต่างๆได้ในกรณีจำเป็น (ข) น้ำจากการผ่านเครื่องกรองน้ำที่ใช้สำหรับดื่มได้ น้ำจะไม่มีครอรีนหรือสิ่งเจือปนใดๆ สามารถใส่ในตู้ได้ทันที ทั้งนี้การใช้น้ำกับปลาที่เลี้ยงควรคำนึงถึงระดับค่า pH ที่เหมาะสมกับปลาที่เลี้ยงด้วยควรศึกษาว่าปลาที่เลี้ยงควรสามารถอยู่ได้ดีที่ค่า pH ระดับเท่าไร และพิจารณาเรื่องอุณหภูมิของน้ำที่ใช้เลี้ยงด้วย ปลาบางชนิดชอบน้ำเย็น ก็อาจต้องลงทุนซื้อ Chiller ปรับให้น้ำเย็นด้วย
2. การเลือกซื้อปลา ควรเลือกซื้อปลาที่สามารถอยู่ร่วมกันได้(กรณีเลี้ยงหลายสายพันธุ์) ไม่ทะเลาะกัดกัน เพราะอยากทำให้ปลาเครียดและตายได้ และควรซื้อปลาที่มีสุขภาพแข็งแรงว่ายน้ำคล่องแคล่ว ไม่ซึมเศร้า กินอาหารดี เลือกซื้อจากร้านที่น่าเชื่อถือ ร้านที่สภาพน้ำสะอาด ไม่เลี้ยงรวมมั่วๆกันหลายตัวเยอะเกินไปนัก (ต้องเน้นเรื่องร้านปลานิดนึงเพราะถ้าได้ปลาเป็นโรคมา อาจจะกำลังปลาอื่นติดเชื้อโรคได้)
3. การให้อาหาร ศึกษาว่าปลาชนิดที่เราเลี้ยงกินอะไร ให้วันละกี่ครั้ง ซึ่งอาหารมีทั้งอาหารสดและอาหารเม็ดสำเร็จรูป ถ้าเป็นอาหารสด ควรดูเรื่องความสะอาดก่อนให้ปลากิน ควรล้างน้ำหรือแช่ด่างทับทิมก่อนใช้ สำหรับอาหารเม็ดสำเร็จรูป ก็สามารถให้ได้ มีหลากหลายชนิด หลายยี่ห้อ หลายราคาพิจารณาเลือกดูตามชนิดของปลาที่เลี้ยง ทั้งนี้การให้อาหารภ้าปลากินไม่หมดต้องทำการตักอาหารที่เหลือออก เพราะจะทำให้น้ำเสียเร็ว และเป็นอันตรายกับปลาได้
4. การเปลี่ยนน้ำ เมื่อเลี้ยงปลาเราควรทำการเปลี่ยนน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อน้ำที่สะอาดและสุขภาพที่แข็งแรง โดยการเปลี่ยนน้ำจากตู้ควรเปลี่ยนครั้งละ 25-40 % ไม่ควรเปลี่ยนน้ำทั้งหมดในตู้เพราะจะทำให้ปลาเกิดอาการช็อคน้ำตายได้ การเปลี่ยนน้ำควรเปลี่ยนทุก 3 วันครั้งถึงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ไม่ควรเกินนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำและจำนวนปลาที่เลี้ยง
5. การรักษาโรค เมื่อปลาเป็นโรค ไม่กินอาหาร เป็นแผลตามตัว ว่ายตัวถูไปกับพื้นหรือกระจก หรืออาการอื่นๆ ควรตรวจสอบให้ดีว่าเป็นโรคอะไร แล้วให้ทำการแยกปลาที่ป่วยออกรักษาโดยการใส่ยา ทำตามแนะนำการใช้ยานั้นๆ และทำการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆ อาการก็จะดีขึ้น แต่ต้องทำใจสักนิดปลาอาจจะรักษาได้ไม่หาย โอกาสที่ปลาจะตายก็มีด้วยเหมือนกัน

วิธีการเลี้ยงปลาสวยงามโดยทั่วๆไป มีวิธีการดังต่อไปนี้

A. การเตรียมอุปกรณ์การเลี้ยง

1. ตู้เลี้ยงปลา ตู้เลี้ยงปลามีตั้งแต่ขนาดเล็ก 8 นิ้ว จนไปถึง 96 นิ้ว หรือมากกว่านั้นกรณีต้องการใหญ่เป็นพิเศษ ควรเลือกตู้ปลาตามขนาดและจำนวนปลาที่ต้องการจะเลี้ยงส่วนใหญ่ที่นิยมและเหมาะสม สำหรับปลาขนาดเล็ก และขนาดกลาง คือตู้ขนาด 16 - 30 นิ้ว ส่วนปลาขนาดกลางขึ้นไป ควรใช้ตู้ขนาด 36 นิ้วขึ้นไปจะสวยงามมาก โดยสามารถซื้อตู้เลี้ยงปลาได้ตามร้านขายทั่วไป โดยให้พิจารณาในเรื่องกาวซิลิโคนที่ใช้ ดูแล้วทนทานไหม ร้านที่ขายมีความน่าเชื่อถือไหม รับประกันให้หรือเปล่ากรณีรั่วซึม ซึ่งโดยส่วนมากชุดตู้ปลาที่ขาย จะขายพร้อมฝาตู้พร้อมชุดไฟ (โดยหลอดไฟสามารถซื้อแยกต่างหากได้ โดยมีหลอดสีขาว สีชมพู สีฟ้า ก็เลือกให้เหมาะกับตู้ของเรา) ,ชุดกรองในตัว และขาตั้งซึ่งเราสามารถเลือกดูว่าจะเอาไม่เอาสิ่งไหนราคาก็จะลดหลั่นลงมา

2. ชุดกรอง ระบบกรองน้ำในตู้ปลาต้องมีครับ เพื่อน้ำที่สะอาด ลดสารพิษต่างๆที่เกิดจากของเสีย โดยตัวกรองมีหลายชนิด เช่น กรองมุมในตู้ , กรองนอก , กรองแขวนและกรองกระปุก โดยชุดกรองมุมตู้จะติดกับตู้เลี้ยงมาเลย กรองนอกใช้การดูดน้ำเข้าถังชุดกรองข้างนอกตู้ มีราคาแพง แต่ประสิทธิภาพการกรองที่ได้ดี กรองแขวนและกรองกระปุกใช้สำหรับตู้เล็ก ประสิทธิภาพไม่ดีนัก ทั้งนี้ในทุกชุดกรองจะต้องมีวัสดุในชุดกรองที่ใช้กรอง เช่น ใยกรอง เป็นการกรองแบบกายภาพเพื่อกรองสิ่งสกปรกขนาดใหญ่ต่างๆในน้ำ , ไบโอบอล หินพิมมัส เซรามิกริง หินภูเขาไฟ และอื่นๆที่ใช้กรองแบบชีวภาพ เป็นการกรองที่ใช้การก่อตัวของแบคทีเรีย และจุลินทรีย์ ในการย่อยสลายสารไนไตรท์ ไนเตรท และแอมโนเมียที่เกิดขึ้นในน้ำให้หมดไป ฉะนั้นในการเลือกซื้อวัสดุในชุดกรองมาใช้ ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพการกรองที่ดี และเหมาะสมกับตู้เลี้ยงของเรา

3. ปั้มลมและปั้มน้ำ ปั้มลมในที่นี้ก็คือปั้มอ็อกซิเจน ที่ใส่ให้เกิดฟองอากาศสัมผัสกับผิวน้ำด้านบน ปั้มลมก็เลือกใช้ตามขนาดของตู้และจำนวนปลาที่มี แต่ตู้ใหญ่ปลาเยอะก็เลือกแบบที่มีช่องลมออก 2 ช่องจะเหมาะสมกว่า ในที่นี้การเลือกหัวทรายมาใช้กับสายอ็อกซิเจน ก็ควรเลือกแบบที่เกิดฟองละเอียดจะดีกว่าฟองเม็ดใหญ่ ซึ่งราคาอาจจะแพงกว่ามาก ต่อมาเป็นปั้มน้ำ จะใส่ในตู้ปลาก็ได้ เพื่อสร้างกระแสน้ำไปในทิศทางที่ต้องการ โดยเลือกขนาดปั้มน้ำตามกำลังแรงของปั้ม และถ้าใช้กรองแบบมุมในตู้ ก็ต้องใช้ปั้มน้ำตามขนาดของตู้ เพื่อดูดน้ำเข้าออกในชุดกรอง

4. วัสดุรองพื้น วัสดุรองพื้นที่ใช้ ส่วนใหญ่นิยมเป็นหินชนิดต่างๆ ก้อนเล็ก ก้อนใหญ่ สีดำ สีขาว สีน้ำตาล หรือสีผสมกัน โดยเลือกซื้อมาใส่ในตู้ให้สูง 1.5 นิ้ว ขึ้นไปจากพื้นตู้เป็นดีที่สุด ทั้งนี้การเลี้ยงปลาอาจจะไม่ใส่วัสดุรองพื้นก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสม โดยมีวัสดุรองพื้นอื่นๆอีกนอกจากหิน เช่น คริสตันสีต่างๆ

5. อุปกรณ์อื่นๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิน้ำ , เครื่องให้อาหารปลาอัตโนมัติตั้งเวลาได้ , เครื่อง Heater ทำความร้อน , เครื่อง Chiller ปรับน้ำใช้เย็น , ต้นไม้ปลอม , บ้านปลาฯลฯ ก็เลือกใช้ที่จำเป็นและเหมาะสมกับตัวเอง


ชื่อวิทยาศาสตร์
Cherax Sp. (Orange Tip)
ชื่อทั่วไป
กุ้งออเร้นทิป
อุณหภูมิที่เลี้ยง 20 - 26 C
ขนาดโตเต็มที่ 6-8 นิ้ว


ชื่อวิทยาศาสตร์
Cherax Sp. (Redbrick)
ชื่อทั่วไป
กุ้งนิวเรด
อุณหภูมิที่เลี้ยง 20 - 26 C
ขนาดโตเต็มที่ 5-7 นิ้ว




ชื่อวิทยาศาสตร์
Cherax Sp. (Blue Moon)
ชื่อทั่วไป
กุ้งบลูมูน
อุณหภูมิที่เลี้ยง 22 - 28 C
ขนาดโตเต็มที่ 6-8 นิ้ว



ชื่อวิทยาศาสตร์
Cherax Preissii (Black jet)
ชื่อทั่วไป
กุ้งดำแบล็คเจ็ต
อุณหภูมิที่เลี้ยง 12 - 20 C
ขนาดโตเต็มที่ 4-6 นิ้ว

ชื่อวิทยาศาสตร์
Cherax Sp. (Tricolor)
ชื่อทั่วไป
-
อุณหภูมิที่เลี้ยง 20 - 26 C
ขนาดโตเต็มที่ 6-8 นิ้ว


ชื่อวิทยาศาสตร์
Procambarus Clarkii
ชื่อทั่วไป
กุ้งสีพีช
อุณหภูมิที่เลี้ยง 16 - 26 C
ขนาดโตเต็มที่ 5-7 นิ้ว




ชื่อวิทยาศาสตร์
Cherax Destructor
ชื่อทั่วไป
กุ้งบลูเพิร์ล
อุณหภูมิที่เลี้ยง 16 - 24 C
ขนาดโตเต็มที่ 8-10 นิ้ว








ชื่อวิทยาศาสตร์
Cherax Quadricarinatus
ชื่อทั่วไป
กุ้งบลูล็อบเตอร์
อุณหภูมิที่เลี้ยง 24 - 28 C
ขนาดโตเต็มที่ 8-10 นิ้ว




ชื่อวิทยาศาสตร์
Cherax Peknyi (Zebra)
ชื่อทั่วไป
กุ้งม้าลาย
อุณหภูมิที่เลี้ยง 20 - 26 C
ขนาดโตเต็มที่ 6-8 นิ้ว




ชื่อวิทยาศาสตร์
Cherax Holthuisi (Apricot)
ชื่อทั่วไป
กุ้งส้มแอพพริคอต
อุณหภูมิที่เลี้ยง 22 - 28 C
ขนาดโตเต็มที่ 6-8 นิ้ว








ชื่อวิทยาศาสตร์
Procambarus Alleni
ชื่อทั่วไป
กุ้งสีน้ำเงิเนอัลเลนี่
อุณหภูมิที่เลี้ยง 16 - 26 C
ขนาดโตเต็มที่ 6-8 นิ้ว






ชื่อวิทยาศาสตร์
Procambarus Sp.(Marble)
ชื่อทั่วไป
กุ้งมาร์เบิ้ล
อุณหภูมิที่เลี้ยง 16 - 26 C
ขนาดโตเต็มที่ 4-6 นิ้ว


Rainbowfish.....Loach.....Corydoras.....Crayfish